Chlorine เครื่องวัดคลอรีน

เครื่องวัดคลอรีน Chlorineเครื่อง วัดคลอรีน Chlorine, เครื่องวัดค่าคลอรีนอิสระ Free Chlorine, เครื่องวัดค่าคลอรีนคงเหลือทั้งหมด Total Chlorine,เครื่องวัดคลอรีน Chlorine, เครื่องวัดค่าคลอรีนอิสระ Free Chlorine, เครื่องวัดค่าคลอรีนคงเหลือทั้งหมด

คลอรีน (Cl2 ) เป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มฮาโลเจน (กลุ่มO) ในตารางธาตุ มีลักษณะเป็นก๊าช สีเหลืองแกมเขียว 
มีกลิ่นฉุน ไม่พบในธรรมชาติ
 
ประวัติ
ค.ศ. 77  Pliny  ชาวโรมันได้ทำการทดลองทางเคมีเพื่อแยกทองคำบริสุทธิ์ พบว่าเกิดจากสารไฮโดรเจนคลอไรด์ (กรดเกลือซึ่งมีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ: HCI)
ค.ศ.720-810  Geber  นักเคมีชาวอาหรับพบว่าเมื่อให้ความร้อนแก่กรดกัดทอง ( HNO3 1ส่วน ผสมกับ  HCI 3 ส่วน) จะได้ก๊าซชนิดหนึ่งมีกลิ่นฉุนแต่ไม่ทราบว่าเป็นก๊าซคลอรีน
ค.ศ. 1774   Karl W.Scheele  นักเคมีชาวสวีเดน ได้รับเกียรติว่าเป็นคนแรกที่ค้นพบก๊าซคลอรีน โดยการเผาส่วนผสมของแมงกานีสไดออกไซค์  (MnO3  ) ) และกรด HCI ตามสมการ
MnO3 + 4Hci    →  MnCl2 + Cl2+2H2O

 

ค.ศ. 1814   Sir Humphry Davy ประกาศว่าก๊าซของ Scheele เป็นธาตุบริสุทธิ์ และให้ชื่อว่า chlorine ซึ่งมาจากภาษากรีก chloros ซึ่งมีความหมายว่า เหลืองแกมเขียว
ค.ศ. 1830   Michsel Faraday ผลิตและแยกคลอรีนได้จากระบวนการไฟฟ้าเคมีElectrolytic Cell
ค.ศ. 1900    การผลิตก๊าซคลอรีนในช่วงนี้ ใช้เซลไฟฟ้าระบบปรอท (Mercury Electrolytic Cell) และระบบได้อะแฟรม (Diaphragm Electrolytic Cell)
ค.ศ. 1923    มีการนำก๊าซคลอรีนมาใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียเป็นครั้งแรกที่มลรัฐเพนซิลวาเนียร์
ค.ศ. 1930    อุตสาหกรรม เคมีเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ได้มีการนำคลอรีนมาใช้งานอย่างกว้างขวางนอกเหนือจากคุณประโยชน์ในด้านการฟอก สีและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
           ปัจจุบัน คลอรีน ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตพลาสติก PVC (Polyvinyl Chloride) ใช้ผลิตน้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า เป็นส่วนประกอบของเคมีกำจัดศัตรูพืชจำพวก ออร์กาโนคลอรีน

สมบัติทางฟิสิกส์
  •  สภาพก๊าซ สีเขียวตองอ่อน สภาพของเหลว สีเหลืองอำพัน
  •  กลิ่นฉุนแสบจมูก
  •  จุดหลอมเหลว -101°C
  •  จุดเดือด -34.6°C
  •  เปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นก๊าซปริมาตรเพิ่มขึ้น 460 เท่า
  •  หนักกว่าอากาศ 2.5 เท่า
  •  ละลายน้ำได้เล็กน้อย     ...อ่านเพิ่มเติม

 

ข้อมูลจาก : www.mwa.co.th

รายการสินค้า:


Visitors: 98,159